สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แพร่
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน้าแรก เช็คอีเมล์ อินทราเน็ต กระดานสนทนา แผนผังเว็บไซต์ ติดต่อเรา
    1     2     3     4     5     6     7     8     9  
เมนูหลัก
บทความที่น่าสนใจ
ขณะนี้มีผู้ Online อยู่
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
สตส.แพร่ จัดนิทรรศการในโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ



              เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยม โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่หมู่1 ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ โดยมี นายทรงฤทธิ์ แก้วสุทธิ นายอำเภอร้องกวาง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนให้การต้อนรับ การดำเนินโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาฯ เป็นการบูรณาการงานร่วมกันของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถยืมควายจากโครงการธนาคารโค-กระบือ ไปใช้ในการเกษตรได้ ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาของตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง ทำให้เกษตรกรประกอบอาชีพการทำนาโดยใช้แรงงานกระบือ สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำมัน และปุ๋ยเคมีได้จำนวนมาก นอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงดิน รักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมรณรงค์แก้ปัญหาโรคร้อน เกิดความสามัคคีในหมู่ประชาชน ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณี การลงแขกทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย และคาดว่าผลที่จะได้รับจากโครงการนี้จะเป็นไปตามกระแสพระราชดำริ

          การนี้ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แพร่   โดย นายธนรงค์  ภู่พัฒน์ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการ ตัวแทน หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แพร่ พร้อมบุคลากรในสังกัด ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงต้นทุนอาชีพของเกษตรกรในโครงการฯ ซึ่งทาง สตส.แพร่ ได้เข้ามีบทบาทในโครงการโดยให้การอบรมการบันทึกบัญชี ต้นทุนอาชีพ และ บัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ เป็นการแสดงให้เห็นเป็น การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าว จากการใช้เครื่องจักร มาเป็น ควายไถนาแทน ซึ่งผลที่ได้คือ นอกจากต้นทุนยังลดลง ยังได้กำไรจากการขายปุ๋ย เพิ่มมาอีก
 
 
Copyright 2015 by Phrae Provincial Cooperative Auditing Office
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แพร่ 172 ม.2 ต.น้ำชำ อ.เมือง จ.แพร่ 54000
ติดต่อเรา Tel: 054-649848 Fax: 054-649910

 

การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Google Chrome และ Internet Explorer 9 ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixel