รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น หลังคามุงด้วยไม้เรียกว่า "ไม้แป้นเกล็ด ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยามีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ด้านหน้าของตัวอาคารหลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยมทั้งปั้นลมและ ชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะ ฉลุสลักลวดลายอย่าง สวยงามซึ่งเป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมุขด้านหน้าตัว อาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว) คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง เท่านั้น ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2501และได้รับพระราชทาน รางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันและสาธารณะ ซึ่งภายในก็จะมีแท่นบรรทมของพระองค์รวมอยู่ด้านใน "เรื่องราวความลี้ลับของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่นั้นเต็มไปด้วยตำนานที่น่า สะพรึงกลัว ด้วยในอดีตบริเวณใต้ถุนอาคารหลังนี้เคยเป็นที่คุมขังนักโทษมานานนับศตวรรษ คำเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ล่วงลับดับขานไป แล้วเล่าสืบต่อกันมาถึงเกี่ยวกับภูตผีวิญญาณต่างๆ ของบรรดาผีทาสที่เสียชีวิตจากการถูกพันธนาการอย่างโหดเหี้ยมน่ากลัวจริงๆ และบริเวณภายใต้อาคารคุ้มเจ้าหลวง เมืองแพร่หลังนี้เคยใช้เป็นที่คุมขังทาสมาไม่น้อย กว่า 50 ปีจนกระทั่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศ เลิกทาสคุกทาสแห่งนี้เลยกลายมาเป็นที่คุมขัง นักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าเมืองหรือข้าหลวงในสมัยต่อมาจนกระทั่งมีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ ขึ้น คุกทาสอันยาวนานของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนานภาพหลอน และวิญญาณพยาบาท คุกใต้ดินดูวังเวงที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานคุ้มเจ้าหลวง โทร. 0 5452 4158